หน้าแรก > ต่างประเทศ

นักวิจัยพบ "พยาธิตัวกลม" ในไซบีเรีย ฟื้นคืนชีพ หลังจากจำศีลไป 46,000 ปี

วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 เวลา 10:26 น.


29 กรกฎาคม 2566  สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทีมวิจัยนานาชาติได้เปิดเผยว่า พยาธิตัวกลม ที่พบในเพอร์มาฟรอสต์ (ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว หรือชั้นดินที่เย็นจัดจนเป็นน้ำแข็ง) ในไซบีเรีย มีอายุมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้

ทีมวิจัย ได้ฟื้นคืนชีพพยาธิ และพบว่ามันอยู่ในสถานะของ “suspended animation” หรือการระงับการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการทำให้อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ เพื่อชะลอหรือหยุดการทำงานของชีวภาพในร่างกาย โดยมันอยู่ในสถานะนี้กว่า 46,000 ปี

เตย์มูราส คูร์ซชาเลีย ศาสตราจารย์กิตติคุณแห่งสถาบันชีววิทยาระดับโมเลกุลและพันธุศาสตร์มักซ์ พลังค์ หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า พยาธิตัวกลมซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่รู้จักมาก่อนนี้ รอดชีวิตมาได้หลังจำศีลอยู่ใต้ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว หรือเพอร์มาฟรอสต์ (Permafrost) ลึกกว่า 40 เมตร พยาธิตัวกลมนี้อยู่ในสภาวะคริปโทไบโอซิส (Cryptobiosis) หรือการลดกระบวนการเผาผลาญในร่างกายจนถึงระดับที่ตรวจจับไม่ได้ จนคล้ายกับว่าไม่มีชีวิตแล้ว เรียกว่าเป็นสถานะ “เสมือนไร้ชีวิต” คล้ายกับการจำศีล ซึ่งสภาวะดังกล่าวจะทำให้พยาธิตัวกลมสามารถทนต่อการขาดน้ำหรือออกซิเจนได้ ทนต่ออุณหภูมิสูงได้ ตลอดจนทนต่อสภาวะเยือกแข็งหรือเค็มจัดได้

ขณะที่ผลการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมแสดงให้เห็นว่า พยาธิตัวกลมเหล่านี้เป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ที่โลกไม่เคยรู้จักมาก่อน ซึ่งนักวิจัยตั้งชื่อว่า “พานาโกรไลมัส โคลีมาเอนิส” (Panagrolaimus kolymaenis)

นักวิจัยกล่าวว่า หนอนตัวกลมนี้ เริ่มเคลื่อนไหวหลังจากที่มันถูกละลายในห้องแล็บ โดยพวกเขาพบว่า มันอยู่ในสถานะพักตัวที่เรียกว่า cryptobiosis หรือสภาวะไร้ชีวิต ประมาณ 46,000 ปี  สิ่งมีชีวิตบางชนิดนั้น สามารถอยู่รอดได้ในสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย รวมถึงการทำให้แห้ง แช่แข็ง หรือเข้าสู่สภาวะอยู่เฉยๆ เป็นเวลานาน นักวิจัยเปิดเผยว่า มันอาจสร้างสถิติใหม่ เป็นสัตว์ที่รอดชีวิตด้วยสภาวะอยู่เฉยๆ ได้  ซึ่งการค้นพบนี้ อาจชี้ให้เห็นถึงวิธีการปรับตัวของสัตว์เมื่อที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

ที่มา   https://edition.cnn.com/.../worm-resurrected.../index.html

ข่าวยอดนิยม


ข่าวยอดนิยม