ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) จ.ลำปาง ไลฟ์เฟซบุ๊ก อัปเดต “พลายศักดิ์สุรินทร์” หลังเข้ามารับการกักกันโรคเป็นวันที่ 13 โดยภาพรวมพบว่าพลายศักดิ์สุรินทร์ อารมณ์ดี และผ่อนคลาย ส่วนแผลฝีบริเวณสะโพกทั้ง 2 ข้างทีมสัตวแพทย์ได้เข้ามาล้างแผลและตรวจบาดแผลเป็นประจำทุกวัน พบยุบลงแห้งขึ้น และปากแผลขนาดเล็กลง พร้อมใส่ยาฆ่าเชื้อในบาดแผลเพื่อระงับการอักเสบ
โดยควาญช้างช่วยกันอาบน้ำและทำความสะอาดร่างกายเช่นเดิมเป็นประจำทุกวันวันละ 1 รอบ ซึ่งวันนี้มีการขัดงา ขัดตัว และลำตัว ขัดหาง อย่างละเอียด
อย่างไรก็ตาม หลังจากพ้นระยะเวลากักกันโรคและเฝ้าระวังโรคแล้วจะปรับการอาบน้ำเป็นวันละ 2 รอบ คือ รอบเช้าและรอบบ่ายเช่นเดียวกับช้างเชือกอื่นๆ
สำหรับอาหารยังให้หญ้าสดชนิดต่าง ๆ ต้นกล้วย มะขามเปียกคลุกเกลือตามหลักโภชนาการที่สัตวแพทย์กำหนดในแต่ละวัน แต่วันนี้ ได้ปรับการกินอาหารมื้อสุดท้ายใหม่จากเดิมเวลาประมาณ 21.00 น. เป็นเวลา 20.15 น.แทน เนื่องจากพลายศักดิ์สุรินทร์เริ่มปรับการนอนที่เร็วขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันระบบย่อยอาหารของช้างที่ไม่เหมือนกับมนุษย์
พลายศักดิ์สุรินทร์ ล้มตัวนอนหลับ 5 ครั้ง
สำหรับการนอนหลับของพลายศักดิ์สุรินทร์อยู่ในเกณฑ์ปกติที่ช้างใหญ่ต้องนอนอย่างน้อย 3 – 6 ชั่วโมงต่อคืน และเริ่มนอนเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับวันแรกที่มาถึงประเทศไทย ซึ่งเมื่อคืนที่ผ่านมา (13 ก.ค.) นอน 5 รอบ คือ เวลา 00.00 – 00.30 น. ล้มตัวลงนอนตะแคงด้านซ้าย เวลา 00.44 –01.30 น. ล้มตัวลงนอนตะแคงด้านขวา เวลา 01.32–02.38 น. ล้มตัวลงนอนตะแคงด้านซ้าย เวลา 03.20–04.06 น.ล้มตัวลงนอนตะแคงด้านขวา และเวลา 04.16 –05.04 น. ล้มตัวลงนอนตะแคงด้านซ้าย รวมแล้วเฉลี่ยช้างใช้เวลานอนประมาณ 4 ชั่วโมงต่อคืน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน