วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:50 น.
ภายหลังงเกิดเหตุการณ์สะพานข้ามแยกลาดกระบัง โครงการก่อสร้างทางยกระดับลาดกระบัง บริเวณหน้าโลตัส ลาดกระบัง เกิดปัญหาถล่มลงมา และทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 13 ราย ซึ่งจากกรณีดังกล่าวนี้เอง ล่าสุด ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ้ สุชัชวีร์" ระบุว่า
เสียใจที่สุด เพราะผมเคยเตือนไปแล้ว สุดท้าย พังลงมา มีคนสูญเสียชีวิต จนได้
กทม.ไม่น่าเลย... #สะพานถล่มลาดกระบัง #ลาดกระบัง พร้อมกันนั้น ดร.เอ้ สุชัชวีร์ ได้แชร์โพสต์เดิมเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2022 โดยมีเนื้อหาใจความว่า ด้วยความห่วงใย การก่อสร้างสะพาน ต้องมีมาตรฐาน นั่งรถผ่านโครงการก่อสร้างสะพานถนนลาดกระบัง-อ่อนนุช ทุกวัน เห็นแล้วอดเป็นห่วงไม่ไดั ยิ่งวันนี้เห็นตั้งนั่งร้านทำงาน มีงานเทปูน หล่อเสาตอม้อ ชิดริมถนน แล้วกังวลแทน กลัวพังลงมา
จากประสบการณ์หลายปี ที่ลงพื้นที่ตรวจสอบการวิบัติ การก่อสร้างโครงสร้างสะพาน มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งขณะทำงาน กรณีดังนี้
1. "นั่งร้านคนงานพัง" เนื่องจากทั้งดินอ่อนรับน้ำหนักนั่งร้านไม่ได้ หรือ ไม่ได้ค้ำยันกับโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง ทำให้คนงานบาดเจ็บและเสียชีวิตบ่อยครั้ง
2. "ไม้แบบรองรับการเทคอนกรึตเสาและคานพัง" เพราะรับน้ำหนักขณะเทคอนกรีตไม่ได้ หรือ เทผิดจังหวะทำให้ไม้แบบเอียงพัง หรือ เสาค้ำยันไม้แบบวางบนดินอ่อนเกิน ก็พังพาบลงมา
3. "คานหล่น" ขณะติดตั้ง เนื่องจากหลุนจากเครนยก หรือ หล่นขณะวางพาดบนเสา หลายครั้งลงมาใส่รถที่สัญจร อยู่ข้างล่าง
4. "เครนล้ม" บางกรณีใช้เครนไม่ถูกขนาด เล็กเกินไปที่จะยกโครงสร้างน้ำหนักมาก บ่อยครั้งพลิกคว่ำ เป็นอันตรายทั้งคนขับเครน และคนงานในพื้นที่
ดังนั้นการทำงานก่อสร้างสะพาน ต้องทำงานตามมาตรฐานความปลอดภัยที่เคร่งครัด และต้องระมัดระวังตลอดเวลา ไม่ใช่เรื่องยากครับ และไม่ได้ต้องเสียงบประมาณเพิ่มเติมอะไรมาก ดีกว่ามาแก้ไขที่หลัง หลายอย่างทดแทนคืนไม่ได้ ผมแนะนำด้วยความห่วงใยจริงๆครับ
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน