วันที่ 26 มิถุนายน 2566 เวลา 20:23 น.
วันที่ 26 มิถุนายน 2566 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 โดยส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี และหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลอ่างศิลา (ชลบุรี) ตรวจสอบพื้นที่ ชายหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี หาสาเหตุ"ปลาตายเกยหาดบางแสน" ผลจากการตรวจสอบ พบปลาที่ตายเป็นปลาชนิดเดียวกันคือ ปลาตะเพียนน้ำเค็ม ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Anodontostoma chacunda มีชื่อเรียกอีกว่า ปลาโคกหรือปลามักคา มีขนาดใกล้เคียงกันทั้งหมด ยาวประมาณ 20 ซ.ม. สภาพเน่า จึงตรวจสอบข้อมูลจากเครือข่ายอนุรักษ์ ผู้ประกอบการแพปลา และเรือประมงในพื้นที่ พบว่า เรือประมงอวนล้อมได้ออกจับปลาตะเพียนน้ำเค็มที่ชุกชุมมากในระยะนี้ ซึ่งขณะทำการประมง อวนที่จับปลาเกิดขาด ทำให้ปลาที่จับได้หลุดลอยและถูกคลื่นลมซัดไปเกยบริเวณชายหาดบางแสน โดยทางเทศบาลเมืองแสนสุขได้จัดเก็บปลาทั้งหมด มีน้ำหนักรวมโดยประมาณ 10,000 ก.ก. ออกจากชายหาด พร้อมกับทำความสะอาดชายหาดให้เข้าสู่ภาวะปกติ และได้ประสานผู้ประกอบการเรือประมง ให้หาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นอีก
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน