วันที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 21:47 น.
นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย ประมงจังหวัดชุมพร, นายอำเภอปะทิว, ลงพื้นที่บริเวณชายหาดทุ่งวัวแล่น เพื่อตรวจสอบกรณี ปรากฏการณ์ แพลงค์ตอนบลูม พร้อมเร่งเก็บปลาที่ขึ้นมาตายบริเวณหน้าหาดให้มากที่สุด ป้องกันการส่งกลิ่นเหม็นกระทบต่อภูมิทัศน์ และได้สั่งการให้หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ ใช้เครื่องจักรเครื่องมือ เก็บปลาที่ตายอยู่กลางทะเลเมื่อสภาพน้ำอำนวย เพื่อป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสียและปลาขึ้นมาเกยหาดอีก
ด้าน ประมงจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบหาสาเหตุการตายของปลา พบว่าร้อยละ 90 เป็นปลาแป้น โดยได้เก็บตัวอย่างน้ำ จำนวน 3 จุด เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำ ชนิดและปริมาณแพลงค์ตอน ซึ่งผลจากห้องปฏิบัติการพบว่า คุณภาพน้ำในทุกพารามิเตอร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่สัตว์น้ำชายฝั่งจะดำรงชีวิตอยู่ได้ และพบแพลงค์ตอนเป็นชนิดไดอะตอมทั้งหมด ในปริมาณความหนาแน่นระหว่าง 2,000-402,000 เซลต่อลิตร ซึ่งค่อนข้างสูงมากกว่าในช่วงเวลาปกติ จึงสามารถสรุปได้ว่าเกิดการบลูม (bloom) ของแพลงค์ตอนที่รวดเร็วมาก ด้วยมีสารอาหาร (nutrient) เป็นจำนวนมาก ซึ่งสารอาหารเหล่านั้นเกิดจากกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของชั้นน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้สารอาหารหมุนเวียนขึ้นและทำให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว โดยภาวะนี้จะทำให้เกิดการแย่งใช้อ๊อกซิเจนทั้งแพลงค์ตอนและสัตว์น้ำ เกิดภาวะขาดแคลนออกซิเจน จึงเป็นสาเหตุให้สัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก
ที่มา สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน