วันที่ 12 มิถุนายน 2566 เวลา 16:21 น.
ซีมีโอสปาฟา กรมศิลปากร และยูเนสโก ผนึกกำลังพัฒนาการอนุรักษ์ด้านโบราณคดีใต้น้ำในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้
วันที่ 12 มิถุนายน 2566 ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ภายใต้องค์การรัฐมนตรี ศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอสปาฟา) กรมศิลปากร ยูเนสโก และศูนย์นานาชาติว่าด้วยโบราณคดี ใต้น้ำ ณ เมืองซาดาร์ (ICUA) ประกาศความร่วมมือจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรใหม่ เน้นสร้างความแข็งแกร่ง ด้านการอนุรักษ์และบูรณะโบราณวัตถุใต้น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การฝึกอบรมครั้งนี้มีกำหนดระยะเวลา 2 สัปดาห์ ในหัวข้อ “South-East Asian Sub-regional Introductory Course on Conservation and Restoration of Underwater Archaeological Finds” (หลักสูตรเบื้องต้นด้านการอนุรักษ์และบูรณะโบราณวัตถุใต้น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ระหว่างวันที่ 19 – 29 มิถุนายน 2566 ณ กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดจันทบุรี โดยนับเป็นการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์และบูรณะโบราณวัตถุครั้งแรกในภูมิภาคที่ครอบคลุมวัสดุหลากหลายประเภทซึ่งมักพบในแหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ
“งานโบราณคดีใต้น้ำมีความท้าทายอย่างมากต่อกิจกรรมโลจิสติกส์ แต่สภาพแวดล้อมใต้น้ำกลับช่วยรักษาวัสดุอินทรีย์และโบราณวัตถุในระดับที่พบได้น้อยมากหรือไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยหากอยู่บนบก” ฟรังกา โคล นักโบราณคดี นักอนุรักษ์ด้านโบราณคดี และวิทยากรร่วมบรรยายจากพิพิธภัณฑ์ซาราวัค (Sarawak Museum - JMS) ประเทศมาเลเซีย กล่าวถึงแง่มุมของการอนุรักษ์โบราณวัตถุใต้น้ำ โดการฝึกอบรมฯ ผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงอย่างครอบคลุมตามหลักการและเทคนิคการอนุรักษ์และบูรณะวัสดุประเภทเครื่องดินเผาหรือเซรามิก แก้ว โลหะ ไม้ และวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะสำคัญอันจะนำไปสู่การปกป้องและสงวนรักษาโบราณวัตถุล้ำค่าเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป ฟรังกา โคล ยังกล่าวอีกว่า “การวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อการอนุรักษ์เชิงคัดเลือกเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพียงวิธีเดียวที่จะช่วยปรับเปลี่ยนเป้าหมายการวิจัยและการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมให้สมดุลกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถที่มีอยู่”
การฝึกอบรมครั้งนี้ ซีมีโอสปาฟา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และยูเนสโก จะพัฒนาการอนุรักษ์และบูรณะ มรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ โดยบูรณาการความรู้ความชำนาญและทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน รวมทั้งได้รับความอนุเคราะห์ ด้านองค์ความรู้และทรัพยากรจำเป็นอื่น ๆ จากศูนย์นานาชาติว่าด้วยโบราณคดีใต้น้ำ (ศูนย์นานาชาติประเภท 2 ที่จัด
ตั้งขึ้นด้วยความอุปถัมภ์จากยูเนสโก) ณ เมืองซาดาร์ สาธารณรัฐโครเอเชีย หน่วยงานสำคัญทั้ง 4 แห่งนี้มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงพัฒนาศักยภาพของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้พร้อมต่อการดำเนินงานเพื่อปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไป
“เราตั้งความหวังไว้ว่าการฝึกอบรมนี้จะช่วยสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความรู้ความชำนาญวิชาชีพด้านโบราณคดีใต้น้ำและด้านอนุรักษ์” นายเขมชาติ เทพไชย ผู้อำนวยการศูนย์ซีมีโอสปาฟากล่าว
การฝึกอบรมครั้งนี้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาองค์การยูเนสโกว่าด้วยการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ ค.ศ. 2001 ซึ่งรับรองในเดือนพฤศจิกายน 2544 ให้กำหนดกรอบกฎหมายร่วมและแนวปฏิบัติเพื่อให้แต่ละประเทศ สามารถดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งการบ่งชี้มรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ การวิจัย มาตรการปกป้อง และการอนุรักษ์มรดก วัฒนธรรมใต้น้ำ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนางสาวชิฮิโระ นิชิกาวะ ผู้เชี่ยวชาญโครงการของ ยูเนสโก ได้กล่าวว่า “ยูเนสโกยินดีมากที่ได้กลับมาเปิดหลักสูตรฝึกอบรมด้านมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำในประเทศไทย อีกครั้ง หลังจากเคยจัดฝึกอบรมในประเทศไทยมาแล้วหลายครั้งระหว่างปี 2552 ถึง 2554”
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญ โครงการของยูเนสโกยังมองภาพในอนาคตไว้ว่า อีกสิบปีข้างหน้า ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมี ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีใต้น้ำและมีทักษะด้านการอนุรักษ์เพียงพอที่จะปกป้องและบริหารจัดการมรดกทาง วัฒนธรรมใต้น้ำได้อย่างยั่งยืนตามอนุสัญญายูเนสโก ปี ค.ศ. 2001
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน
15 พฤศจิกายน 2567
เปิดผลตรวจ "แมวแม่หยัว" เผยผู้เชี่ยวชาญที่อ้างตอนวางยา ไม่ใช่สัตวแพทย์
15 พฤศจิกายน 2567
ไฟไหม้กองขยะ ย่านซอยโชคชัย 4 แล้วลุกลามรถยนต์ที่จอดใต้อาคารเสียหาย 3 คัน